บทความวังสราญรมย์เวทีการต่อสู้ทางการทูตของไทย

          นิรันดร์ บุญจิต : นักวิจัยเขตแดน กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย : เรื่อง
หิรัญ สุวรรณเทศ : ถ่ายภาพ
พระราชวังสราญรมย์  สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2409 เพื่อจะใช้เป็นที่ประทับของพระองค์   เมื่อมอบราชสมบัติให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชวังสราญรมย์เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๘ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีว่าการต่างประเทศคนแรก อีกทั้งพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแต่งตั้งราชทูตไทยไปประจำในราชสำนักต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่แทนในการเจรจากับมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก ที่กำลังแข่งขันกันอย่างเต็มที่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้ส่ง ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี เข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับสยามในปี พ.ศ.2369  (ค.ศ.1826) ที่เรียกกันว่า “ สนธิสัญญาเบอร์นี่ ” และในโอกาสนี้ อังกฤษได้ขอกองกำลังของไทยไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าด้วย  และต่อมา ไทยได้จัดส่งกองกำลังไปช่วยตามที่อังกฤษได้ร้องขอ ครั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาริง พร้อมเรือรบลำหนึ่งเข้ามาเจรจาขอแก้ไขหนังสือสัญญาทางการค้ากับสยามที่ได้ทำไว้ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นการณ์ไกล ว่า อังกฤษคงต้องใช้กำลังบังคับให้ไทยต้องลงนามเพื่อแก้ไขหนังสือสัญญาดังกล่าวอย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง  ประเทศไทยมีกำลังน้อย การดำเนินนโยบายลู่ตามลมโดยการโอนออ่นผ่อนตามเท่าที่จำเป็นต่อมหาอำนาจตะวันตก จะช่วยรักษาอำนาจอธิปไตย ความอยู่รอดและความมั่นคงของประเทศได้   พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า ทางที่จะทำให้ประเทศไทยปลอดภัยได้มีทางเดียว คือต้องรับทำหนังสือสัญญาโดยดีให้เกิดมีไมตรีจิตต่อกัน แล้วจึงค่อยชี้แจงกันฉันมิตร ให้ลดหย่อนผ่อนผันข้อสัญญาในภายหลัง เพื่อไม่ให้เกิดยุคเข็ญแก่บ้านเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ลงนามในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างอังกฤษกับสยามในปี พ.ศ.2398 (ค.ศ.1855) เป็นผลให้ไทยต้องยกเลิกภาษีปากเรือและเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3  และต้องให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษโดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย ซึ่งคนไทยเรียกหนังสือสัญญาฉบับนี้ว่า “สนธิสัญญาเบาริง” และต่อมา ได้นำหนังสือสัญญาฉบับนี้มาเป็นแบบในการทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี กับประเทศอื่นๆอีก 13 ประเทศ โดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาทั้งภาษาลาตินและภาษาอังกฤษจากมิชชันนารี จนทรงใช้ภาษาทั้งสองได้เป็นอย่างดี  ทำให้พระองค์สามารถติดตามข่าวเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษได้อย่างต่อเนื่อง จนพระเกียรติยศเลื่องลือไปยังนานาประเทศ  แม้พระสหายชาวต่างประเทศของพระองค์หลายคน ก็คอยให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่พระองค์อยู่เสมอ ทำให้ทรงมีพระปรีชาสามารถในการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับมหาอำนาจตะวันตก เพื่อที่จะให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศจักรวรรดิ์นิยมได้ พระองค์ทรงเห็นว่า นอกจากการทำหนังสือสัญญากับประเทศมหาอำนาจตะวันตกแล้ว  การปรับประเทศให้ทันสมัย “ รู้จักและส้องเสพย์กฏหมายและอย่างธรรมเนียมอันดีๆ ในบ้านเมือง” เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อที่จะตอบโต้ภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกได้  พระองค์ได้ทรงเห็นตัวอย่างจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย พม่า ลาว เขมร มลายู และบางส่วนของจีน ว่าการตอบโต้กับประเทศจักรวรรดินิยมอย่างแข็งกร้าว ภัยจะต้องตกมาถึงตัว และต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในที่สุด พระองค์จึงได้ทรงตัดสินพระทัยส่งคณะราชทูตไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียของอังกฤษเมื่อ ปี พ.ศ.2400 โดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูตและส่งคณะราชทูตไปเข้าเฝ้าพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส มีพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นราชทูต นอกจากคณะราชทูตได้เดินทางไปเข้าเฝ้าเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแนะนำให้คณะราชทูตแสวงหาความรู้และวิชาการ สมัยใหม่กลับมายังประเทศไทยด้วย และต่อมาในปี พ.ศ.2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรปคนแรกเพื่อเจรจาหาทางผ่อนคลายขจัดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังคุกคามไทยอยู่ในขณะนั้น
  
ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  อังกฤษซึ่งชนะสงครามกับพม่าและได้เข้ายึดครองพม่าได้ทั้งหมดแล้ว ได้เข้ามาลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องกำหนดเขตแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่ระหว่างราชอาณาจักรสยามและมณฑลของอังกฤษคือเทนเนสเซอริม เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ค.ศ.1868)  และฝ่ายฝรั่งเศสเมื่อได้เข้ายึดครองญวนได้ทั้งหมดแล้ว ก็ได้ใช้กำลังเข้ายึดเอาแคว้นสิบสองจุไทยของไทยในปี พ.ศ. 2431 และในขณะที่ไทยกำลังมีข้อพิพาทกับฝรั่งเศสในลาวและเขมรนั้น อังกฤษก็ต้องการที่จะผนวกเอาดินแดนไทยคือ หัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าและหัวเมืองกะเหรี่ยงตะวันออกแม่น้ำสาละวิน กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า อยากจะตกลงเรื่องเขตแดนกับอังกฤษเสีย เพื่อไทยจะได้เผชิญหน้ากับการคุกคามของฝรั่งเศสและป้องกันตนเองได้โดยไม่ต้องพะว้าพะวัง ไทยจึงจำเป็นต้องยกหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าและหัวเมืองกะเหรี่ยงให้แก่อังกฤษตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ว่าด้วยเมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองลำพูน ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2436 (ค.ศ.1883) โดยตกลงกำหนดให้แม่น้ำสาละวินเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับพม่าของอังกฤษ เมื่อนายปาวี มาเปนราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2435 เขาได้เปิดการเจรจากับกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทันทีเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่คั่งค้างกันอยู่ รวมทั้งปัญหาการปักปันเขตแดน ระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส การต่อสู้ทางการทูต จึงเริ่มขึ้น นำไปสู่ วิกฤติการณ์ ร.ศ.112 ในปี พ.ศ.2436  การเจรจาทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาเพื่อยุติกรณีพิพาท ร.ศ.112 นั้น เป็นไปด้วยความยากลำบากระหว่างกรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ กับนายเลอร์มี เดอ วิแลร์ ( Le Myre de Vilers) ผู้แทนฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสเรียกร้องมิให้นายโรแลง เจเกอแมง (Rolin Jacquemyns)  ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของไทย ชาวเบลเยียม ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องในการเจรจาครั้งนี้ด้วย ในระหว่างการเจรจา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรอฟังข่าวด้วยความกระวนกระวาย และทรงปรารภกับ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ ว่า  “...เวลานี้ตกลงเป็นกบอยู่ในกระลาครอบอึดอัด...เป็นอย่างเดียวกับคนที่ตัดสินโทษว่าจะประหารชีวิตแล้วกำหนดไว้ให้ช้า ต้องได้เสวยความทุกขเวทนามากขึ้นกว่าที่ลากเอาไปฟันเสียทันที...”   กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ  “ ถึงกับนอนไม่สนิทได้ ด้วยความคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะเป็นการดีที่สุด จะได้ป้องกันความเสียหายที่จะมีมาในแผ่นดิน...”  ในที่สุดไทยต้องยอมลงนามใน หนังสือสัญญากรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ.112 หรือ พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893) ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะแก่งทั้งหลายในแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีของไทยไว้เพื่อเป็นประกันให้ไทยต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การใช้นโยบายผูกมิตรกับอังกฤษและนโบายผ่อนปรนกับฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ผล อีกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยังได้ร่วมมือกันทำความตกลงกันเพื่อสถาปนาไทยให้เป็นรัฐกันกระทบใน พ.ศ.๒๔๓๘(ค.ศ.1896) โดยที่ไทยมิได้มีส่วนรู้เห็นในเรื่องดังกล่าวนี้เลย รัชกาลที่๕ จึงทรงตระหนักว่าเพื่อความอยู่รอดและเพื่อเกียรติภูมิของประเทศ    ไทยจึงจำเป็นต้องปรับนโยบายต่างประเทศของตนด้วยการแสวงหามิตรใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อให้มหาอำนาจต่างๆยอมรับฐานะของไทยว่าเป็นประเทศเอกราชและเพื่อให้ไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศมากขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2440(ค.ศ.1897) โดยเสด็จประพาสรุสเซียเป็นประเทศแรก การต้อนรับอย่างดียิ่งของรุสเซีย ส่งผลต่อการต้อนรับของประเทศอื่นๆในยุโรปด้วย  แล้วพระองค์ได้เสด็จต่อไปยัง  เยอรมันนี ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และประเทศต่างๆแถบสแกนดิเนเวีย  พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรุสเซีย ทรงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ฝรั่งเศสถวายการต้อนรับรัชกาลที่ 5 อย่างสมพระเกียรติ พระองค์ได้ทรงถือโอกาสนี้เปิดเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยทรงชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่ไทยจะได้รับจากการที่ฝรั่งเศสลงทะเบียนคนในบังคับอย่างไม่มีขอบเขต แม้การเจรจาจะยังหาข้อยุติไม่ได้ก็ตาม แต่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ถวายสัญญาว่าจะหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยไมตรีจิตและจะหาทางผ่อนปรนข้อเรียกร้องของไทยลง การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนี้ ทำให้ไทยมีความใกล้ชิดกับประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะกับเยอรมันนี ญี่ปุ่นและรุสเซีย ประเทศเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาททางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไทยในระยะต่อมา  เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของเยอรมันนี ญี่ปุ่น และรุสเซียในประเทศไทย อังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้ลงนามในความเข้าใจฉันมิตร (Entente cordiale) ระหว่างกัน  ความตกลงนี้ ได้ยืนยันให้ไทยคงเป็นรัฐกันกระทบต่อไประหว่างอาณานิคมของมหาอำนาจทั้งสอง โดยแบ่งประเทศไทยออกเป็น 3 เขต คือให้ภาคตะวันออกเป็นเขตอิทธิพลของฝรั่งเศส ภาคตะวันตกเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ และให้ดินแดนในลุ่มน้ำต่างๆทางภาคกลางของไทย(ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองผ่านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่มแม่น้ำป่าสัก) ให้ถือเป็นเขตกลาง อังกฤษและฝรั่งเศสได้ดำเนินนโยบายกระชับไมตรีต่อกันจนนำไปสู่การทำความตกลงความเข้าใจฉันมิตรต่อกันใน พ.ศ.2447(ค.ศ.1904) จึงเป็นแรงผลักดันให้ไทยต้องรีบแสวงหาทางทำความตกลงกับฝรั่งเศสโดยเร็ว ซึ่งได้นำไปสู่การเจรจาและการลงนามในอนุสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 (ค.ศ.1904) เป็นผลให้ไทยได้คืนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งฝรั่งเศสยึดไว้เป็นประกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2437 หลังวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 อีกทั้งฝรั่งเศสยอมผ่อนคลายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ไทย แต่ไทยจะต้องสละสิทธิดินแดนบนฝั่งขวาแม่น้ำโขง อันได้แก่เมืองหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร และจำปาศักดิ์ให้แก่ฝรั่งเศส ไทยได้ยกด่านซ้ายและตราดให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสเข้าใจว่าด่านซ้ายเป็นดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงด้วย และตราดนั้น ฝรั่งเศสพยามยามจะรวมตราดไว้ในเขมร ทั้งๆที่พลเมืองของตราดเป็นไทยทั้งหมด หนังสือสัญญาฉบับนี้ ฝรั่งเศสและสยามตกลงให้มีการตั้งคณะข้าหลวงใหญ่เพื่อทำการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสขึ้น เพื่อเจรจาหาทางยุติปัญหาเขตแดนระหว่างกัน ในระยะเวลาเดียวกันนี้ ไทยได้ทำการปฏิรูปกฏหมายเพื่อให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยอาศัยชาวฝรั่งเศสและชาวต่างประเทศเป็นที่ปรึกษาและได้ว่าจ้างชาวฝรั่งเศสเข้ารับราชการหลายตำแหน่ง เช่น จ้างนายยอร์ช ปาดูซ์ (George Padoux) เป็นที่ปรึกษาด้านกฏหมาย จ้างนายปงโซต์ (Ponsot) เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเขมร  อีกทั้งฝรั่งเศสได้ให้การยกย่องและไว้วางใจ นายเอ็ดเวิด  เฮนรี่ สโตรเบล (Mr.Edward Henry Stroble) ที่ปรึกษาราชการทั่วไปของสยาม ชาวอเมริกัน จึงทำให้ฝรั่งเศสเบาใจขึ้น และการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องเสด็จประพาสยุโรปอีก พระองค์จึงต้องรีบขจัดปัญหาต่างๆกับฝรั่งเศส ให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะเสด็จออกจากประเทศไทย จึงนำไปสู่การเจรจาและการลงนามในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 23 มีนาคม  พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907) เป็นผลให้ไทยได้คืนด่านซ้าย ตราดและเกาะต่างๆใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด  แต่ไทยต้องยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส   และคนเอเชียในบังคับของฝรั่งเศสยังคงต้องขึ้นต่อศาลต่างประเทศในประเทศไทย สำหรับชาวฝรั่งเศสนั้น ยังคงขึ้นศาลกงสุลต่อไป และเมื่อไทยประกาศใช้กฏหมายครบถ้วนแล้ว จึงจะต้องขึ้นต่อศาลไทยในทันที สนธิสัญญาฉบับนี้ตกลงให้ตั้ง  คณะข้าหลวงใหญ่เพื่อทำการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส เพื่อยุติปัญหาเขตแดนที่ยังคั่งค้างระหว่างกัน ตามหนังสือสัญญาลับระหว่างไทยกับอังกฤษฉบับนี้ ทำให้ไทยต้องเสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และหาทางยกเลิกสนธิสัญญาลับฉบับนี้กับอังกฤษ จึงนำไปสู่การเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2451 ( ค.ศ. 1909 ) ไทยยอมยกรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ  เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอยกเลิก สนธิสัญญาลับ ฉบับนี้ ผลของหนังสือสัญญาฉบับนี้อังกฤษยอมผ่อนคลายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ไทยเช่นเดียวกับที่ฝรั่งเศสให้แก่ไทย และตกลงให้มีการจัดตั้งคณะข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัส ในที่ประชุมเสนาบดี เรื่องการทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ ร.ศ.128 (พ.ศ.2452 ค.ศ.1909 ) เมื่อวันที่๘ กรกฏาคม รัตนโกสินทรศก 128  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฏราชกุมาร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงษ์  กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ เจ้าพระยายมราช และพระยาวงศานุประพันธ 

    
พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานหนังสือให้อ่านเสนอที่ประชุมตลอดแล้ว มีพระราชดำรัสว่า หนังสือที่อ่านนี้ เปนเนื้อความในสัญญาแลคำแก้ข้างฝ่ายเขา เพื่อให้คนของเขาเข้าใจ บัดนี้ จะได้อธิบายให้ฝ่ายเราทราบว่า เหตุใดจึงได้ยอมทำสัญญานี้ลงไปเช่นนี้ ขั้นต้นต้องเข้าใจว่า พระราชอาณาเขตรของกรุงสยามมีสองชั้น  คือหัวเมืองชั้นใน กับชั้นนอก ฤาประเทศราช ส่วนการปกครองแต่ก่อนๆมา ด้วยเหตุที่ทางไปมาลำบากมาก จึงได้ปล่อยให้หัวเมืองชั้นนอก เปนประเทศราชปกครองตนเอง เปนแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการ เพราะชนั้นกรุงเทพฯ ไม่ได้ผลประโยชน์อันใดจากหัวเมืองประเทศราช นอกจากบรรณาการเท่านั้นในระหว่างที่ไทยกำลังหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆกับฝรั่งเศสอยู่นั้น ไทยยังคงมีปัญหากับอังกฤษ คืออำนาจอธิปไตยของไทยเหนือรัฐมลายูตอนบน และปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ.2413 (ค.ศ.1870)ข้าหลวงใหญ่ของสหพันธรัฐมลายู ได้กราบทูลเป็นนัยว่า อังกฤษใคร่จะได้ดินแดนหัวเมืองมลายูจากไทยด้วยอังกฤษเกรงว่าเยอรมันซึ่งกำลังมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยในขณะนั้น อาจจะขยายอิทธิพลเข้าไปในแหลมมลายู ต่อมา อังกฤษจึงขอเจรจาลับกับไทยซึ่งนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาลับไทย-อังกฤษ ฉบับลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2440(ค.ศ.1897) ว่า ประเทศไทยจะไม่ยอมให้ชาติหนึ่งชาติใด เช่า เช่าซื้อ หรือถือกรรมสิทธิเหนือดินแดนไทยตั้งแต่ตำบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ลงไปโดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ โดยอังกฤษตกลงว่าจะให้ความคุ้มครองทางทหารแก่ไทยในกรณีถูกรุกรานจากชาติอื่น แต่อังกฤษก็มิได้ปฏิบัติตามสัญญานี้เลย  เมื่อฝรั่งเศสเรียกร้องดินแดนของไทยบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อังกฤษกลับแนะนำให้ไทยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส และอังกฤษกลับไปทำสนธิสัญญาฉันทมิตรกับฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2446 (ค.ศ.1904)ไทยจึงต้องยอมลงนามในหนังสือสัญญาสยามกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2446(ค.ศ.1904)

ต่อมาเราได้จัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ได้ทันแต่มณฑลพายัพมณฑลเดียว ด้วยเหตุว่ามีเหตุเกิดขึ้นก่อนมณฑลอื่นๆ คือเรื่องป่าไม้ กับเปนมณฑลที่ตั้งอยู่ในลำแม่น้ำอันเดียวกันกับกรุงเทพฯ พอจะทำการได้ง่าย จึงคิดแลจัดการเอิบเอื้อมเข้าไปปกครอง ก็ได้ไว้ทั้งมณฑลเมื่อได้จัดการในมณฑลพายัพแล้ว ก็ได้จัดการทางหัวเมืองลาวแถบลำน้ำโขง คือได้จัดการเดินออกไปจนข้ามฟากโขงไปฝั่งโน้น แต่เปนหัวเมืองที่ติดต่อกับอาณาเขตรเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ฝ่ายเรามีกำลังน้อยกว่า จึงไม่สำเร็จแลซ้ำขาดทุนพระราชอาณาเขตรไปด้วย อาณาเขตรของเราทางนั้น จึงหดเข้ามาอยู่เพียงในฟากโขงฝั่งนี้ฝ่ายทางแหลมมลายู ก็ได้จัดการอย่างเดียวกัน แต่เราเดินไปได้เพียงมณฑลปัตตานี ถึงแม้ยังไม่ได้ประกาศรวมเป็นกรุงสยามก็จริง แต่ก็เหมือนรวมแล้ว แต่เมืองตรังกานูนั้น ได้มีสัญญากับอังกฤษไว้แต่แรกว่า เราจะไม่เกี่ยวข้อง ฝ่ายเมืองไทรเปนเมืองที่เราตีได้ แต่เราปกครองเองไม่ได้ จึงให้แขกปกครองตัวเองเปนประเทศราชการที่เกี่ยวข้องกันในชั้นหลังมานี้ ก็เพราะหัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใกล้เขตรแดนอังกฤษมากขึ้น ผลประโยชน์ถึงกันเข้า ฝ่ายอังกฤษยกเหตุกล่าวว่า เราปกครองไม่พอตามทางความคิดระวังของเขาว่า ถ้าต่างประเทศชาติใดชาติหนึ่งที่มีอำนาจ จะมาขอเช่าที่ดินในตัวเมืองเหล่านี้ ซึ่งเราจะห้ามก็ไม่ได้แล้ว จะเปนการเสียประโยชน์ของเขา เมื่อเขาเห็นช่องทางมีอยู่ดังนี้ จึงเคี่ยวเขญขอให้เราทำสัญญาว่า ถ้าจะอนุญาตที่ดินในแหลมมลายูแก่ใคร ต้องให้อังกฤษทราบก่อน สัญญาฉบับนี้เปนสัญญาลับครั้นเกิดความเรื่องเมืองกลันตัน อนุญาตคอนเซสชั่นให้แก่สมิเตอรดัฟฟ เราไม่รับว่าเปนสัญญา เพราะเราไม่รู้เห็นด้วย อังกฤษกลับเข้าถือท้าย แลว่าถ้าเราจะปกครองก็ขอให้ทำสัญญา แลขอให้มีข้าหลวงออกไปปกครอง การที่จะปกครองนั้น ถ้าแต่ลำพังเรา อังกฤษไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะทำอย่างไรก็ได้ แต่นี่เปนการขัดข้องที่จะทำเช่นนั้นได้ แต่ถ้ามีเหตุการณ์อะไรขึ้น อังกฤษคงถือว่าเราเปนเจ้าของแล้ว มาว่ากล่าวเอากับเราเสมอ แต่ถ้าเราจะห้ามอะไร อังกฤษก็เข้าถือท้ายเช่นเมืองกลันตัน เปนต้น จะเอาโทษเจ้าผู้ครองเมืองก็ไม่ได้ เปนการครึ่งๆกลางๆ อยู่เช่นนี้ มีแต่จะก่อให้เกิดความลำบากแก่เราฝ่ายเดียวเพราะฉนั้น ในการที่ตัดพระราชอาณาเขตรแหลมมลายู ครั้งนี้ ส่วนที่เปนของเราแท้ กล่าวคือมณฑลปัตตานี เราจัดการปกครองอย่างหัวเมืองทั้งปวง ส่วนที่จะเอามาปกครองไม่ได้เช่นที่ตัดออกไปนี้ ก็นับวันแต่จะเหินห่างจากเราไปทุกที่ในเวลานี้เรายังมีของที่มีราคาอยู่ จึงควรถือเอาราคาอันนี้แลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่น กล่าวคือ อำนาจของอังกฤษที่มีอยู่ในเขตรแดนของเราข้างฝ่ายเหนือแลกับเรื่องศาล จริงอยู่ในเรื่องอำนาจศาล ถ้าจะว่าตามธรรมดา เมื่อเราจัดการศาลเรียบร้อยแลความเปลืองของอังกฤษ ก็ชวนจะให้อังกฤษเลิกศาลเช่นเมืองเชียงใหม่อยู่ แต่ถ้าจะรออยู่จนถึงเวลานั้น เราก็จะต้องทนความยากลำบากอยู่ช้านาน แลราคาของหัวเมืองแขกก็จะตกต่ำลงไปทุกที จึงเห็นว่าแลกเปลี่ยนกันเสียเวลานี้ดีกว่า การที่เสียพระราชอาณาเขตรไปครั้งนี้ ก็เปนที่เสียเกียรติยศมาก เปนที่เศร้าสลดใจอยู่ แต่ครั้งจะเอาไว้ ก็มีแต่จะเกิดความร้อนใจ เพราะอังกฤษมีความปรารถนาแรงกล้า เมื่อเราเห็นว่าจะได้อะไรบ้างแล้ว จึงจัดการเสีย เพื่อจะได้จัดการปกครองให้ทั่วถึงในส่วนที่เปนของเรา เราจะมีอำนาจมากกว่าเมื่อมีเมืองที่ไม่มีอำนาจปกครองพ่วงอยู่ เพราะว่าเมื่อมีอยู่ ก็ต้องปกครองรักษาให้ได้สิทธิขาดจริงๆ ถ้าปกครองไม่ได้สิทธิขาดแล้ว ไม่มีเสียดีกว่า เช่นเมื่อเกิดการโจรผู้ร้ายที่สำคัญขึ้น เราต้องจัดเรือรบไปปราบปรามเปนต้น เปนการที่ต้องเสียเปล่า เพราะเหตุฉะนี้ จึงตกลงทำสัญญาแลกเปลี่ยนคือเลิกสัญญาที่เราถูกอังกฤษกดให้ทำได้หมด นี่เปนไปรส์ที่เราได้อย่างหนึ่ง แต่เปนข้อที่ไม่ได้ลงในสัญญาฉบับนี้เพราะเปนของลับ ในการที่ได้คนในบังคับอังกฤษมาอยู่ในอำนาจของศาลเรานั้น เวลานี้อยู่ข้างลำบาก เพราะต้องจ้างฝรั่งมาเปนผู้พิพากษา โดยที่หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีฯ ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467  ได้สงวนสิทธิข้อความที่ว่าด้วยการกำหนดเขตแดน และการปักปันเขตแดนให้คงไว้ตามหนังสือสัญญาลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893) ว่าด้วยแนวเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขงอนุสัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ.1905) และหนังสือสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ว่าด้วยแนวเส้นเขตแดนใน น้ำเหือง ห้วยดอน และแนวเส้นเขตแดนทางบกที่ตกลงกันให้เป็นไปตามสันปันน้ำและเพื่อให้ความตกลงฉบับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๗ นี้มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงนำไปสู่เจรจาและลงนามในอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเพื่อวางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างสยามกับอินโดจีน ลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.2469(ค.ศ.1926) ระหว่างพระวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าไตรทศประพันธ์เสนาบดีว่าการต่างประเทศสยาม กับท่านอาเลกซังดร วาเรนนผู้สำเร็จราชการแห่งอินโดจีนฝรั่งเศสผลของอนุสัญญาฉบับนี้ได้ตกลงให้กำหนดใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขงและได้มีการตกลงแบ่งเกาะดอนในแม่น้ำโขงระหว่างกันอนุสัญญานี้ตกลงให้ตั้ง คณะข้าหลวงใหญ่สยาม-ฝรั่งเศส ประจำแม่น้ำโขงขึ้น เพื่อทำการปักปันเขตแดนในแม่น้ำโขงและวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส

จำนวนผู้อ่านบทความ