บทความหม่อนไหม ที่เกือบเลือนหาย

        
บุญรัตน์ แสงทอง : เรื่องและจดบันทึก
ธิดารัตน์ จีรุพันธ์ : สัมภาษณ์
หิรัญ สุวรรณเทศ : ถ่ายภาพ

"ผ้าไหม" ในความรู้สึกของผู้คนโดยทั่วไป คือผ้าทอที่มีความสวยงามประณีต และมีราคาสูง กรรมวิธีการทอผ้าแต่ละผืนใช้เวลานาน โดยความยากในการทอขึ้นกับลายผ้าสถานีวิทยุสราญรมย์ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม กรมหม่อนไหมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้เล่าให้ฟังว่า "ผ้าไหม" เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมานานจากร่นสู่รุ่น มีความหลากหลายในเรื่องของรูปแบบ ลวดลาย รวมไปถึงสีสันตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น เหตุใดจึงต้องอนุรักษ์การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม รวมไปถึงประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆด้วย การสร้างลวดลายสามารถทำได้ 3 ประเภท ได้แก่ ลวดลายจากการทอ เช่น การจก การยก การขิด โดยเตรียมลวดลายเส้นด้ายก่อนทอ เช่น การมัดหมี่ หรือทำลวดลายหลังจากเป็นผืนผ้า เช่นการย้อม การมัดย้อมก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องของผ้าไหม คุณวสันต์ฯ ได้เล่าถึงที่มาของการอนุรักษ์การทอผ้าไหมว่า หน่วยงานหลักในการดำเนินเรื่องนี้คือ "กรมหม่อนไหม" ซึ่งบางท่านอาจจะไม่รู็จักและไม่รู้เหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องอนุรักษ์การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม 
ก่อนเป็นกรมหม่อนไหมย้อนกลับไปในสมัยรัชการที่ 1- 4 สมัยนั้นราษฎรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอาชีพรองจาการทำนา แต่เดิมนั้น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทำกันเฉพาะในเขตลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะมณฑลอีสานและมณฑลอุดร (ในขณะนั้น) ส่วนมณฑลอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะผลิตไหมดิบแล้วทอเป็นผ้าม่วงใช้กันเองภายในครัวเรือน การเลี้ยงไหมในสมัยนั้นเป็นแบบโบราณ การผลิตเส้นไหมได้เส้นไหมที่หยาบและสั้น ใช้ทอเป็นเส้นพุ่งได้อย่างเดียว ส่วนเส้นยืนนั้นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงเล็งเห็นว่า ถ้าไม่อุดหนุนการทำผ้าไหมและการทำผ้าของประเทศ ไทยจะต้องสั่งซื้อไหมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี พระองค์จึงทรงมอบให้กระทรวงเกษตราธิการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาจากญี่ปุ่นเพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านไหมเป็นเวลา 3 ปี อีก 1 ปีถัดมา กระทรวงเกษตราธิการได้ใช้ที่ดินแห่งหนึ่งในตำบลศาลาแดงหรือถนนหลวงในปัจจุบันเป็นที่ทำการทดลองของแผนกไหมเพื่อเตรียมสอนนักเรียนช่างไหม    พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าหนทางที่จะทำนุบำรุงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เจริญยิ่งขึ้น จึงทรงให้แยกที่ทำการแผนกไหมออกเป็นกรมช่างไหม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์) เป็นอธิบดีพระองค์แรก หลังจากนั้น ได้จัดตั้งโรงเรียนช่างไหมเพื่อสอนวิชาการทำไหม (หลักสูตร 2 ปี) และมีการจ้างพนักงานญี่ปุ่นมาสอนการสาวไหม
(หลักสูตร 2 ปี) แต่ต่อมา โรงเรียนช่างไหมเปิดสอนหลายวิชามากขึ้นและนำไปผนวกกับโรงเรียนเกษตรที่ตั้งขึ้นใหม่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 โรงเรียนช่างไหมมีการเปลี่ยนชื่มาแล้วถึง 9 ครั้ง ได้แก่ กรมช่างไหม กรมเพาะปลูก กรมตรวจกสิกรรม กรมเกษตร กรมเกษตรและการประมง กรมกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร (ร่วมกับกรมการข้าว) สถาบันวิจัยหม่อนไหม (กองการไหมเดิม) สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ จนกระทั่งมีชื่อเป็น "กรมหม่อนไหม" อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
กรมหม่อนไหมเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่างๆ ไม่ว่าเป็นงานวิจัย งานส่งเสริม งานอรุรักษ์คุ้มครอง รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหม่อนไหมอย่างครบวงจร ภารกิจทั้งหมดล้วนเป็นไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงในอาชีพหม่อนไหม ดังพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาป อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ว่า "การเลี้ยงไหมนอกจากจะเป็นการเสริมรายได้แก่เกษตรกรแล้ว ยังเป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่และดีงามของชาติไทยที่สืบต่อกันมานานอีกด้วย ไม่ว่าเศรษบกิจของประเทศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การพัฒนาเลี้ยงไหมก็ต้องดำเนินต่อไป" ด้วยพระองค์ทรงเล็งเห็นว่า "ไหมคือศรีแห่งแผ่าดิน"
กรมหม่อนไหมประกอบด้วยสำนักหม่อนไหม 5 เขต ดูแลศูนย์หม่อนไหมฯ 21 ศุูนย์ในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ เขต 1 ดูแลจังหวัดแพร่ เชียงใหม่ ตาก น่าน เขต 2 ดูแลจังหวัดอุดรธานี เลย สกลนคร หนองคาย เขต 3 ดูแลจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เขต 4 ดูแลจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระบุรี สุรินทร์ อุบลราชธานี และเขต 5 ดูแลจังหวัดชุมพร กาญจบุรี นราธิวาส
 
จำนวนผู้อ่านบทความ